LTV คืออะไร?

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราในฐานะคนที่ซื้อที่อยู่อาศัยคงจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับ “LTV คือ Loan to Value: LTV ratio

การจะหาเงินก้อนเพื่อมาซื้อที่อยู่อาศัยคงทำได้ยาก โดยเฉพาะสำหรับคนวัยทำงานหรือครอบครัวเริ่มต้น เนื่องจากมีมูลค่าสูง ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเข้าไปขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินด้วยตนเองค่ะ

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราในฐานะคนที่ซื้อที่อยู่อาศัยคงจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับ “LTV คือ Loan to Value: LTV ratio อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน” มาบ้างแล้ว ในวันนี้ ชนันธร จะมาพูดถึงมาตรการ LTV นั้นคืออะไรกันแน่ ตามมาดูกันเลย

LTV คืออัตราส่วนการให้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเทียบกับมูลค่าที่อยู่อาศัยนั้นๆ เป็นที่ทราบดีว่า การจะหาเงินก้อนเพื่อมาซื้อที่อยู่อาศัยคงทำได้ยาก โดยเฉพาะสำหรับคนวัยทำงานหรือครอบครัวเริ่มต้น เนื่องจากมีมูลค่าสูง หรือกว่าจะรอเก็บเงินให้ครบเพื่อจะได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองอาจจะเลยไปถึงอายุวัยกลางคน เราจึงจำเป็นต้องเข้าไปขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน และต้องลุ้นว่าแต่ละสถาบันการเงินจะให้เรากู้ยืมเงินเท่าไหร่ จะเต็มมูลค่าของคอนโดที่เราต้องการซื้อหรือไม่ LTV เลยต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรา

สมมุติถ้าเราจะซื้อบ้านหรือคอนโด มูลค่าราคา 1 ล้านบาท สถาบันการเงินจะให้สินเชื่อ LTV

กู้ได้เพียงไม่เกิน 80% แสดงว่าเราจะได้รับวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 8 แสนบาท เราก็ต้องมีเงินเป็นของตนเองเพื่อจ่ายซื้อบ้านหรือคอนโดในราคา 2 แสนบาทขึ้นไป ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินด้วยค่ะ สถาบันการเงินก็ต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ เพื่อนำมากำหนดจำนวนเงินงวดที่ต้องผ่อนชำระ, มูลค่าของที่อยู่อาศัยซึ่งก็จะต้องนำมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน, คุณสมบัติต่าง ๆ ของที่อยู่อาศัย เช่น ทำเลที่ตั้ง รวมถึงพิจารณาความน่าเชื่อถือของโครงการ หากเป็นโครงการที่น่าเชื่อถือ เจ้าของโครงการสามารถสร้างเสร็จตามกำหนด ก็อาจจะได้รับสินเชื่อสูงกว่า 8 แสนบาท

IMAGE_LTV

ดังนั้นในการที่เรากู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโด เราก็อาจได้รับ LTV ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นที่สถาบันการเงินจะนำมาพิจารณาค่ะ ชนันธร ขอเป็นกำลังใจให้ลูกค้าทุกท่านเลยนะคะ :)

เราใช้คุกกี้ ( Cookie ) เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี และพัฒนาประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูล ข้อกำหนดและเงื่อนไข

ยอมรับ