เช็คให้ชัวร์ คอนโดเราต้องเสียภาษีแค่ไหน!

เรื่องยอดฮิตที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันในแวดวงอสังหาฯ คงหนีไม่พ้น “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ที่จะเริ่มมีการจัดเก็บกันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

เพื่อน ๆ ที่เป็นเจ้าของคอนโดมิเนียม เริ่มเกิดข้อสงสัยว่าจะโดนหางเลขต้องเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างตัวนี้ด้วยหรือเปล่า แล้วถ้าต้องเสีย จะต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ โดยหลักการแล้วสำหรับคนที่มีคอนโดมิเนียมหลักเพียง "หลังเดียว" สำหรับใช้พักอาศัย และราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท กฎหมายตัวนี้ไม่มีผลอะไรกับเพื่อน ๆ เลย แต่สำหรับใครที่มีบ้านหลักที่ใช้พักอาศัยแล้ว (ไม่ว่าจะราคาเท่าไหร่ก็ตาม) แต่ยังมีคอนโดมิเนียม ตึกแถว หรือที่ดินเปล่าอีก กรณีแบบนี้ เพื่อน ๆ จะต้องเสียภาษี ส่วนจะโดนในกรณีไหนบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

01

1. ใครต้องเสียภาษีนี้บ้าง ?

ทุกคนที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างค่ะ โดยถ้าเป็นบุคคลธรรมดาก็จะไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนการเป็นเจ้าของที่ดินหมายถึงอะไร ตรงนี้กฎหมายยังไม่มีเขียนไว้ชัดเจน แต่โดยหลักการกฎหมายเรื่องกรรมสิทธิ์แล้ว เราคงต้องดูในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์เป็นหลัก ซึ่งถ้าเป็นที่ดินเปล่า หรือบ้านเดี่ยวก็คือให้ดูชื่อใน "โฉนดที่ดิน" และถ้าเป็นคอนโดก็ให้ดูใน "หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด"


02

2. เริ่มเก็บภาษีเมื่อไร ?

เริ่มเก็บปี 2563 โดยในระหว่างนี้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกำลังจัดเตรียมกฎหมายรอง (เช่น กฎกระทรวง และประกาศที่เกี่ยวข้อง) รวมถึงดำเนินการในด้านอื่น ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจัดเก็บจริง โดยรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด จะตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน หรือรายได้ของรัฐบาล (ปัจจุบัน อปท. มีรายได้ไม่เพียงพอในการพัฒนาท้องถิ่น เพราะการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่มีปัญหา และข้อจำกัดในหลาย ๆ เรื่อง) 

03

3. ทรัพย์สินประเภทไหนต้องเสียภาษี ? และคิดมูลค่าอย่างไร ?

หลัก ๆ คือที่ดินเปล่า และสิ่งปลูกสร้างเกือบทุกประเภท สิ่งปลูกสร้างจะรวมถึงบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม อาคาร ทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้าส์ ที่สามารถเข้าอยู่อาศัย ใช้สอย สำหรับการวัดมูลค่าทรัพย์สินว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่นั้น โดยหลักการคือ ให้ใช้ "ราคาประเมินทุนทรัพย์" อันเดียวกับราคาประเมินเวลาเราเสียค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมต่าง ๆ ที่กรมที่ดินนั่นเอง (ซึ่งราคาประเมินเหล่านี้คือราคาประเมินของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังนั่นเอง ซึ่งโดยเฉลี่ยมักจะต่ำกว่าราคาตลาดจริงประมาณ 20-30%)

04

4. ที่พัก "หลัก" จะต้องเสียภาษีเท่าใด?

บ้านพักอาศัยหลังหลัก (ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม ทาวน์โฮม และทาวน์เฮาส์) จะต้องเสียภาษีนี้ก็ต่อเมื่อมูลค่าบ้านนั้นเกินกว่า 50 ล้านบาท ถ้าต่ำกว่าหรือเท่ากับ 50 ล้านบาท จะไม่ต้องเสียภาษี โดยจะต้องเสียในอัตราตามตารางด้านบนค่ะ

05

5. คอนโดปล่อยเช่า และไม่ได้เป็นบ้านหลัง "หลัก" จะต้องเสียภาษีเท่าใด ? 

หากเพื่อน ๆ มีบ้านพักอาศัยหลังหลักแล้ว และยังมีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ด้วย เช่น มีชื่อเป็นเจ้าของคอนโดในหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ยังไม่ได้พักอาศัยเอง แต่ปล่อยเช่าได้รับค่าเช่าเดือนละ 9,000 บาท เป็นต้น จะต้องโดนภาษีในอัตราตามตารางด้านบนค่ะ


สรุปง่าย ๆ ว่า หลักการวางแผนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้ยาก เราต้องเช็คให้ชัวร์ วางแผนง่ายที่สุด ในกรณีที่อยู่อาศัย นั่นคือ ถ้ามีที่อยู่อาศัยหลายหลัง เอาชื่อตัวเองไว้ในบ้านหลังที่แพงที่สุดเพราะจะไม่เสียภาษีถ้าไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ถ้าที่อยู่อาศัยหลังที่แพงสุดเกิน 50 ล้านบาท จะเสียแค่ส่วนต่างแต่หลังอื่นก็จะเสียถูกลงไปกว่า เพราะบ้านหลังอื่น มันมีมูลค่าที่น้อยกว่านั่นเอง

Living Tips

เราใช้คุกกี้ ( Cookie ) เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี และพัฒนาประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูล ข้อกำหนดและเงื่อนไข

ยอมรับ